สล็อตเว็บตรง PG Slot เชื่อถือได้ สล็อตค่าย PG คุณภาพเยี่ยม!
logo

ถ่ายทอดสด “สุริยุปราคาเต็มดวง” 8 เม.ย. 67 เริ่มเวลา 22.42 น.

"สุริยุปราคาเต็มดวง 2567" สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เตรียมถ่ายทอดสดปรากฎการณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ คืนวันที่ 8 เม.ย. 67 ตั้งแต่เวลา 22.42 น.

ในวันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 จะเกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวง ประเทศไทยไม่สามารถสังเกตได้ อย่างไรก็ดี ปรากฎการณ์สุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ทาง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งผ่านเพจเฟซบุ๊ก NARIT เตรียมถ่ายทอดสดบรรยากาศให้คนไทยได้ชมพร้อมกัน ตั้งแต่เวลา 22.42 น. ของคืนวันที่ 8 เมษายน 2567

สำหรับปรากฎการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวง ในครั้งนี้ แนวคราสเต็มดวงจะพาดผ่านบริเวณทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณประเทศเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เริ่มจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่เวลา 22:42-03:52 น. (ตามเวลาประเทศไทย) การเกิดคราสครั้งนี้ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังนานที่สุด 4 นาที 28 วินาที  

“สุริยุปราคา” เป็นปรากฏการณ์ที่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน มีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก เมื่อดวงจันทร์ค่อย ๆ เคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ สิ่งที่ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บนโลกจะเห็น คือ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ลดลง รูปร่างของดวงอาทิตย์จะเว้าแหว่งไปบางส่วน หรือถูกบังจนหมดทั้งดวงขึ้นอยู่กับรูปแบบการบัง  

ปรากฏการณ์ สุริยุปราคา ในวันที่ 8 เมษายน 2567 จะเป็นแบบ “สุริยุปราคาเต็มดวง” เนื่องจากเป็นช่วงที่ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลก ทำให้เห็นดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มากพอจะบังดวงอาทิตย์ได้หมด

เมื่อวัตถุทั้งสามเรียงตัวกันในแนวเส้นตรง จึงเกิดเป็นปรากฏการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวง นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญมาก ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาชั้นโคโรนาและวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบที่มีอยู่ในบรรยากาศชั้นโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ได้ 

สุริยุปราคาเต็มดวง ในครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาลำดับที่ 30/71 ชุดซารอสที่ 139 เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 22:42 น. ของวันที่ 8 เมษายน 2567 ตามเวลาประเทศไทย แต่ในประเทศไทยไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เงามืดของดวงจันทร์จะเริ่มสัมผัสพื้นโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่เวลาประมาณ 23:39 น. ของวันที่ 8 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย

จากนั้นจะพาดผ่านประเทศแม็กซิโก สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสิ้นสุดคราสเต็มดวงบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก ในเวลาประมาณ 02:55 น. ของวันที่ 9 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย (จุดที่เกิดคราสเต็มดวงนานที่สุดอยู่บริเวณเมืองนาซาส รัฐดูรังโก ประเทศเม็กซิโก ระยะเวลานานถึง 4 นาที 28 วินาที) และเงาของดวงจันทร์จะพ้นจากโลกโดยสมบูรณ์เวลาประมาณ 03:52 น. ของวันที่ 9 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย

การเกิดปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญในครั้งนี้ ประเทศที่อยู่ในแนวคราส โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาตื่นตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวอเมริกันจำนวนหลายล้านคนจะได้ชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงอีกครั้ง หลังจากเกิดครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ.2560 นอกจากนี้ยังดึงดูดให้นักดาราศาสตร์และผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาชมปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นจำนวนมาก

สิ่งที่นักดาราศาสตร์สนใจศึกษา ได้แก่ โคโรนา ซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ มองเห็นได้เฉพาะตอนเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีย์ ในช่วงก่อนและหลังเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง เพื่อเทียบเคียงลักษณะภูมิประเทศบนดวงจันทร์ และปรากฏการณ์ทางแสงต่าง ๆ ในช่วงก่อนและหลังเกิดปรากฏการณ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี NARIT มีกำหนดเดินทางไปศึกษา และเก็บข้อมูลปรากฏการณ์ ณ รัฐเทกซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่จะสามารถสังเกตการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ได้ และมีโอกาสสังเกตปรากฏการณ์ได้นานที่สุดถึง 4 นาที 21 วินาที 

สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2569 ผ่านประเทศสเปน มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศกรีนแลนด์ บริเวณขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของประเทศรัสเซีย ปรากฏการณ์สุริยุปราคาในวันที่ 8 เมษายน 2567 ไม่ได้ส่งผลต่อการเกิดลมสุริยะ หรือพายุสุริยะแต่อย่างใด และยังไม่มีข้อมูลการแจ้งเตือนถึงพายุสุริยะจาก NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ในวันดังกล่าว

Share This Post

บทความเพิ่มเติม

บทความ

เผ็ดจี๊ด! “ไอซ์ ปรีชญา”อวดลุคแซ่บสุดซี้ด เซ็กซี่ขยี้ใจ

เซ็กซี่สุดๆ สำหรับความสวยของ “ไอซ์ ปรีชญา” ดารานักแสดงชื่อดัง ที่ล่าสุ เจ้าตัวปล่อยช็อตเด็ด จัดเต็มชุดวาบหวิว อวดหุ่นเด็ด เผ็ดเข็ดฟัน ในลุคแซ่บสุดซี้ด ที่จะทำให้หนุ่ม ๆ ใจสั่นแรงระดับ 10 ริกเตอร์

บทความ

ถ่ายทอดสด “สุริยุปราคาเต็มดวง” 8 เม.ย. 67 เริ่มเวลา 22.42 น.

“สุริยุปราคาเต็มดวง 2567” สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เตรียมถ่ายทอดสดปรากฎการณ์ ตั้งแต่ต้นจนจบ คืนวันที่ 8 เม.ย. 67 ตั้งแต่เวลา 22.42 น.